 |
|
เนื่องจากการเตรียมศพเพื่อการศึกษานั้น ต้องผ่านกระบวนการเตรียมอย่างเหมาะสม ทางคณะแพทยศาสตร์จึงไม่สามารถรับร่างผู้บริจาคมาศึกษาได้ในกรณีต่างๆ ดังนี้
|
|
1. |
ผู้บริจาคเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับคดี เช่น อุบัติเหตุ ฆ่าตัวตาย หรือต้องเก็บร่างไว้เพื่อคดีหรือร่างผ่านการผ่าพิสูจน์มาแล้ว |
2. |
ผูบริจาคเสียชีวิตด้วยโรคร้ายแรงหรือโรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ วัณโรค โรคแอนแทรกซ์ |
3. |
การจัดการกับร่างผู้บริจาคผิดวิธีจนไม่สามารถนำร่างกลับมาใช้ในการศึกษาได้ เช่น การฉีดยารักษาศพด้วยวิธีที่แตกต่างจากทางคณะแพทยศาสตร์ |
4. |
ผู้บริจาคเสียชีวิตในสถานที่ห่างจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มากกว่า 150 กิโลเมตร โดยยกเว้นพื้นที่ในเขต กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี นครปฐม สระบุรี นครนายก |
|
|
|
*** ในทุกขั้นตอนที่กล่าวมา ท่านผู้บริจาคร่างกายและญาติจะไม่เสียค่าใช้จ่ายๆ ทั้งสิ้น ***
|
|
................................................................... |
|
 |
|
เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม อย่าฉีดยากันศพเน่าก่อนโดยเด็ดขาด ขอให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งโดยตรงไปยังเจ้าหน้าที่ของสาขากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เป็นผู้มาดำเนินการฉีดยารักษาสภาพศพให้เท่านั้น เพื่อความสมบูรณ์ของศพในการนำไปศึกษา
|
|
โปรดแจ้งภายใน 24 ชม. หลังการเสียชีวิตและให้ญาติไปแจ้งที่เขต หรืออำเภอเพื่อออกใบมรณะบัตร ทางสาขาฯ จะไปฉีดยาศพได้ต่อเมื่อมีใบมรณะบัตรเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
|
|
ในการจัดการศพเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาขากายวิภาคศาสตร์ ที่จะปฏิบัติเองเมื่อได้รับการแจ้งการถึงแก่กรรมแล้ว เจ้าหน้าที่ของสาขาฯ จะออกไปดำเนินการฉีดยารักษาสภาพศพ หลังจากนั้นญาติจะรับศพไปทำบุญตามประเพณี เช่น ตั้งสวดศพได้ 3 - 7 วัน เมื่อเสร็จพิธีแล้วศพจะถูกเก็บรักษาไว้ที่สาขากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อไป เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นระยเเวลา 2 - 3 ปี โดยประมาณ ภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาทางสาขากายวิภาคศาสตร์จะรวบรวมส่วนที่เหลือจากการศึกษาให้ญาติรับไปจัดการตามประเพณีนิยมต่อไป หรือทางสาขาฯ จะเป็นผู้ดำเนินการกับศพตามที่ได้ระบุไว้ในใบอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาและวิจัย
|
|
................................................................... |
|